ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

อุปกรณ์ ตอน ตัวต้านทาน  

** ในบทความนี้จะกล่าวถึงตัวต้านทานแบบค่าคงที่ ส่วนตัวต้านทานแบบปรับคค่าได้จะกล่าวถึงในบทความตอนต่อไป**

>| รู้จักกับตัวต้านทาน
>| ชนิดตัวต้านทานแบบค่าคงที่
>| การอ่านค่าและการแปลงค่าของตัวต้านทาน
>| การอ่านค่าตัวต้านทานโดยใช้เครืองมือวัด (เร็วๆนี้)
>| การต่อตัวต้านทาน (เร็วๆนี้)
>| ค่ามาตราฐานตัวต้านทาน (เร็วๆนี้)

รู้จักกับตัวต้านทาน (Resistor)
? ? ตัวต้านทาน ตัวรีซิสเตอ์ หรือตัว อาร์ (R) ที่เรามักนิยมเรียกกัน เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ต้านการไหลของกระแส ไฟฟ้า เนื่องจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่จะใช้งานได้ที่กระแสไฟฟ้าระดับหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นเราจึงใช้ตัวต้านทาน กันไม่ให้มีกระแสไหลเข้าไปยังอุปกรณ์ดังกล่าวเกินความจำเป็น
? ? ค่าของตัวต้านทานจะมีหน่วยเป็น โอห์ม เช่น 10 โอห์ม 12 กิโลโอห์มเป็นต้น และขนาดของตัวต้านทานจะเรียก เป็นกำลังวัตต์(W) และมีขนาดตั้งแต่ 1/8W 1/4W(เรานิยมใช้กัน) 1/2W 1W 2W 3W 5W ขึ้นไปเรื่อยๆ โดยการเลือก ใช้ตัวต้านทานนั้นต้องเลือกค่า เลือกขนาดกำลัง และชนิดของตัวต้านทานให้ถูกต้องด้วย เพราะหากเลือกผิดจะเป็นผลเสียต่อ วงจรที่เราออกแบบไว้ด้วย


รูปตัวต้านทานแบบค่าคงที่ สัญลักษณ์ตัวต้านทานแบบค่าคงที่ รูปตัวต้านทานแบบเปลี่ยนค่าได้ และ LDR

 

 

ชนิดของตัวต้านทาน (Resistor)
ตัวต้านทานนั้นแบ่งไปเป็นหลายแบบ เช่น ตัวต้านทานแบบค่าคงที่ ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ (เช่นพวก โวลุ่ม VR ต่างๆ) ตัวต้านทานเลือกค่าได้ ตัวต้านทานชนิดพิเศษ(เช่น LDR หรือ ตัวต้านทานไวแสง) แต่ในส่วนนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะส่วนตัวต้านทานแบบค่าคงที่ซึ่งที่เราพบเห็นบ่อย ๆจะมีดังนี้คือ
ตัวต้านทานแบบคาร์บอน (ผิดพลาด 5%)
ตัวต้านทานแบบฟิมล์ (ผิดพลาด 1%)
ตัวต้านทานแบบกระเบื้อง หรือ เซรามิด (3W ขึ้นไป)


 
ตัวต้านทานชนิดคาร์บอน
ตัวต้านทานชนิดนี้เรามักจะพบเห็ยอยู่เสมอในงานทางด้านอิเล็กทริอนิกส์ โดยสังเกตุดังต่อไปนี้ สีของตัวต้านทานจะเป็นสีน้ำตาล , แถบสีที่ปรากฎบนตัวต้านทานจะมี 4 แถบสี โดยที่มี 4 แถบสีจะบอกถึงค่าผิดพลาดของตัวต้านทาน 5 % หมายความว่าหากเราอ่านค่าได้ 100โอห์ม ค่าที่แท้จริงตัวต้วต้านทานจะอยู่ในช่วง 100โอห์ม +/- 5% ตัวต้านทานแบบนี้จะมีกำลังวัตต์ตั้งแต่ 1/8W , 1/4W ,1/2W 1W และนิยมใช้ในงานทั่วไปเพราะหาซื้อง่ายราคาถูก

ตัวต้านทานชนิดฟิล์ม
ตัวต้านทานชนิดนี้จะเหมือนกับตัวต้านทานแบบคาร์บอน แต่สังเกตุความแตกต่างคือ สีของตัวต้านทานจะเป็นสีน้ำเงิน , แถบสีที่ปรากฎบนตัวต้านทานจะมี 5 แถบสี โดยที่มี 5 แถบสีจะบอกถึงค่าผิดพลาดของตัวต้านทาน 1 % หมายความว่าหากเราอ่านค่าได้ 100โอห์ม ค่าที่แท้จริงตัวต้วต้านทานจะอยู่ในช่วง 100โอห์ม +/- 1% ตัวต้านทานแบบนี้จะมีกำลังวัตต์ตั้งแต่ 1/8W , 1/4W ,1/2W 1W และนิยมใช้ในงานทั่วไปหรือในงานที่ต้องการค่าเที่ยงตรงสูงเช่น ในเครื่องมือวัด เครื่องมือแพทย์ โดยราคาจะสูงกว่าแบบคาร์บอน
ตัวต้านทานชนิดลวดพัน หรือ เซรามิค หรือ กระเบื้อง
ตัวต้านทานชนิดนี้ภายในจะพัดด้วยขดลวด รูปร่างภาพนอกจะเป็นกระเบื้อง และมีกำลังวัตต์สูงกว่า คือตั้งแต่ 3W , 5W ,10W, 15W ขึ้นไป และมีค่าผิดพลาดสูง คือ 5% 10% โดยค่าของตัวต้านทาน จะพิมพ์ไว้ที่ตัวต้านทางเองเลย ตัวต้านทานชนิดนี้ใช้ในงานทั่วไป


การอ่านค่าตัวต้านทานและการแปลงค่าตัวต้านทาน
ค่าของตัวต้านทานจะมีค่าในช่วง 0 โอห์ม - ประมาณ 5เมกกะโอห์ม ( ต่อไปจะแทน โอห์ม ด้วย E นะครับ) ดังนั้นหากเรา เขียนค่าที่มีค่ามากเช่น 1000E หรือ 1000000E คงจะยาวไปดังนั้นจึงใช้หน่วยมาตราฐานแทนตัวย่อ ดงต่อไปนี้ครับ 1000 เขียนแทนด้วย k (กิโล)เช่น 1000E จะเขียนเป็น 1kE(1 กิโลโอห์ม)
100,000 เขียนแทนด้วย 100kE (หนึ่งร้อยกิโลโอห์ม) เป็นต้น
1 ,000,000 จะเขียนแทนด้วย M (เมกกะ) เช่น 2,000,000E จะเขียนเป็น 2M (2 เมกกะโอห์ม) , 3,300,000E เขียนแทน ด้วย 3.3ME(3.3เมกกะโอห์ม) เป็นต้นครับ ซึ่งหากเราดูแล้วค่าของตัวต้านทานจะไม่เกินหน่วย เมกกะโอห์ม

การอ่านค่าตัวต้านทาน 4 แถบสี
โดยเราจะแบ่ง แถบสีออกเป็น 3 ช่วงแถบสีดังนี้ 2 แถบสีแรกเป็นค่าทั่วไป แถบสีต่อมา จะเป็นจำนวนเลข 0 เท่ากับจำนวนค่านั้นๆ ส่วนแถบสีสุดท้ายจะเป็นค่าความผิดพลาดซึ่ง โดยส่วนใหญ่จะเป็นสีทอง ซึ่งจะมีค่าผิดพลาด 5%
แถบสีของตัวต้านทานจะเรียงลำดับจาก 1 ไป 4 โดยสังเกตุตำแหน่งที่ 1 จะอยู่ชิดด้านหน้า และตำหน่งที่ 4 ส่วนใหญ่จะเป็นสีทอง ซึ่ง code สีจะมีค่า เฉพาะดังต่อไปนี้

 


การอ่านค่าตัวต้านทาน 5 แถบสี
ในการอ่านค่าตัวต้านทานแบบนี้จะเหมือนกับการอ่านค่าตัวต้านทาน 4 แถบสี โดยเราจะใช้ 3 แถบสีแรกเป็นตัวตั้ง แถบสีที่ 4 เป็นตัวคูณ และแถบสีสุดท้ายเป็นค่าผิดพลาดซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสีแดง
แถบสีของตัวต้านทานจะเรียงลำดับจาก 1 ไป 5 โดยสังเกตุตำแหน่งที่ 1 จะอยู่ชิดด้านหน้า และตำหน่งที่ 5 ส่วนใหญ่จะเป็นสีแดง ซึ่ง code สีจะมีค่า เดียวกับชนิด 4 แถบสี

Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  4,867
Today:  6
PageView/Month:  21

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com